สีฝุ่นทำเอง

วันหนึ่งเมื่อไฟไหม้ป่าในพื้นที่ปลูกป่าและอนุรักษ์ ภูหลง ภูแลนคา

น้องเกล ธันชนก พรมมา ตาม ปู่วิชัย นาพัว กับสมาชิกชมรมเด็กรักนกรักธรรมชาติท่ามะไฟหวานไปช่วยดับไฟป่า เมื่อไฟมอดทิ้งเรื่องราวไว้มากหลาย

04 อิสบาเกลกับผลงานสีฝุ่น
01 เก็บขี้เถ้า กับปู่วิชัย

ปู่หลานลองนำขี้เถ้าไฟป่ามาพิจารณา เพราะมีแรงบันดาลใจว่าอยากจะทำโครงการวาดภาพด้วยสีแบบโบราณร่วมกับศิลปินระดับปรมาจารย์ คือ อาจารย์ผ่อง เซ่งกิ่ง อ.สมภพ บุตราช กับคณะ เป็นการฟื้นฟูเขียนภาพแบบศิลปกรรมไทยโบราณโบสถ์วัดภูเขาทอง บ้านท่ามะไฟหวาน ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ในนามศิลปิน “กลุ่มจิตรกรไทย” และเครือข่ายศรัทธา นักกิจกรรมสังคมอีกหลายกลุ่ม

การทำงานวาดภาพผนังโบสถ์ด้วยสีฝุ่นแบบโบราณนี้เริ่มโดยเตรียมพื้นผิวผนัง คือล้างผนังโบสถ์ เพื่อลดความเป็นด่างของปูน ด้วยน้ำต้มขี้เหล็ก ต้องอาศัยความเพียรและความตั้งใจอย่างมากจากฆราวาสและศิลปินรวมทั้งชาวบ้าน

ล้างผนังปูนสูตรผสมเอง ใช้น้ำใบขี้เหล็กต้มแบบเข้มข้น ล้างหลายสิบครั้งซ้ำๆ คือล้างไปเรื่อยๆ จนผนังหมดความเค็มนับสิบๆ รอบ

จุลทัศน์ อุปัชฌาย์ ผู้อาสาเป็นตัวหลักเตรียมพื้นผนังโบสถ์ เขาล้างผนังซ้ำๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วใช้ขมิ้นสดขีดเขียนเพื่อทดสอบความเค็ม หากสีของขมิ้นแปรเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล/แดง แสดงว่าความเค็มของปูนยังคงอยู่ หากเขียนภาพฝาผนังลงไปจะทำให้ภาพนั้นหลุดล่อนในเวลาไม่กี่ปี ฉะนั้น จึงต้องล้างผนังหลายครั้งจนกว่าสีของขมิ้นจะเป็นสีเหลืองสด ทำไปและตรวจสอบความเป็นกรดและด่างไป

วิธีพิสูจน์ความด่าง/เค็มของปูนผนังโบสถ์ ต้องใช้แง่งขมิ้นชันสดขูดที่ผนังเพื่อดูว่าสีขมิ้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรืออ่อนหรือคงสีเหลือง เมื่อขมิ้นคงสภาพสีเหลืองเท่าสีเหลืองของแง่งขมิ้นก็เท่ากับความเค็มของปูนที่ผนังหมดสภาพ พร้อมกับการทากาวเม็ดมะขามผสมดินสอพองในลำดับถัดไป

03 ล้างผนังด้วยน้ำต้มใบขี้เหล็ก

เวลาผ่านมาหลายเดือน ขมิ้นเหลืองสดใสบนผนังโบสถ์ การ เตรียมพื้นเสร็จสิ้น พร้อมเข้าขั้นตอนต่อไป

ชาวบ้านท่ามะไฟหวานเอาเม็ดมะขามมาบริจาคเพื่อนำไปทำ กาวเมล็ดมะขาม นับเป็นการฟื้นฟูการเขียนสีด้วยวิธีโบราณผนังโบสถ์แห่งแรกในภาคอีสาน ก่อนหน้านั้นเคยมีการทำแบบนี้ในภาคกลาง อาจารย์ผ่อง เซ่งกิ่ง อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นอาจารย์ของ อ.สมภพ บุตราช ผู้เคยเขียนที่วัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน อังกฤษ และศิลปินอีกหลายคน

06 วาดแผน ก่อนลงมือ
10 วาดรูป กิจกรรมโปรดยามว่าง
08 เรียนรู้การผสมสี
07 ภาพวาดจิตรกรรม

งานทาผนังโบสถ์ด้วยกาวเม็ดมะขามร่วมกับดินสอพองและกาวกระถินต้องทำหลายรอบ เว้นไปอีกประมาณ 2 เดือนจึงมาดูว่ามีส่วนใดที่หลุด-กร่อนหรือไม่ จากนั้นทาซ้ำอีก แล้ว “กวด” ผนังด้วยหอยเบี้ย คือกดถูให้กาวเม็ดมะขามดินสอพองผนึกติดผนังยิ่งขึ้น รอบแล้วรอบเล่า เป็นความพยายามอันยาวนานของพระ ชาวบ้าน และทีมงานแหลวพันโตน ในการเตรียมพื้นผนังโบสถ์ เมื่อทากาวเม็ดมะขามดินสอพองชั้นเกสร หลังจากนั้นจะเริ่มขั้นตอนวาดสีฝุ่น โดยจะต้องผลิตสีใช้เองในท้องถิ่นตามแบบบรรพชนที่เคยทำสืบกันมา

กระบวนการเตรียมพื้นฝาผนังด้วยกาวเม็ดมะขามดินสอพอง 1 ปีเต็ม เริ่มร่างภาพ โดย อ.สมภพ บุตราช งานกำลังดำเนินไปพร้อมๆ กับ “เกล” ได้เรียนรู้การนำสิ่งใกล้ตัวผสมผสานกับภูมิปัญญาดั้งเดิมสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะสีฝุ่นจากธรรมชาติ และอาจสร้างแรงบันดาลใจไปสู่การต่อยอดเรียนรู้อื่นๆ ในอนาคต

ใครอยากสนับสนุนเชิญติดต่อที่วัด เขามีคนช่วยกันขับเคลื่อน หรือที่เฟซบุ๊ก วิชัย นาพัว Vichai Napua

ส่วนคนที่สนใจอยากเห็นเด็กหญิงเกลเรียนรู้การทำสีฝุ่นด้วยตนเอง ไปเก็บขี้เถ้า ดิน ฯลฯ มาทำสีแบบโบราณไว้วาดภาพ ติดตามในทุ่งแสงตะวัน เสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 เวลา 05.05 น. ทางช่อง 3 กด 33 และเวลา 07.30 น. ทางเฟซบุ๊ก ทุ่งแสงตะวัน

ชมคลิปตัวอย่าง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *